ประวัติราชวิทยาลัย
จากบันทึกของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิยม ฉิมะวงษ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งพิมพ์ในวารสารวิสัญญี เล่มที่ 1 ของสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยฉบับปฐม มีความว่า
“วันหนึ่งเราได้พบกันในงานเลี้ยงเป็นงานอะไรผมก็จำไม่ได้เสียแล้ว มีหมอวิสัญญีจากโรงพยาบาลศิริราชบ้าง รามาธิบดีบ้าง จุฬาลงกรณ์บ้าง ต่างก็คุยกันสนุกสนานในสังคมนั้น มีคนพูดขึ้นว่าปัจจุบันวิสัญญีแพทย์ก็มีจำนวนไม่น้อยแล้ว ควรที่จะก่อตั้งสมาคมขึ้นบ้าง จึงเป็นความคิดริเริ่มที่เกิดขึ้นในที่สุดก็มอบให้ผมเป็นผู้ดำเนินการ”
จึงมีการนัดประชุมแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลหญิง (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลราชวิถี) มาประชุมพร้อมกัน ที่แพทยสมาคม บ้านศาลาแดง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2513 อาจารย์อาวุโส ซึ่งมีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมาคมคือ อาจารย์ แพทย์หญิงจิรพรรณ มัธยมจันทร์ ดูแลเรื่องการจัดตั้งตามระเบียบ โดยใส่ชื่อผู้ริเริ่ม 3 คน ได้แก่ นายแพทย์นิยม ฉิมะวงษ์ แพทย์หญิงสลาด ทัพวงศ์ และนายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ สำหรับการขออนุญาตจัดตั้งสมาคมจากกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์นายแพทย์นิยม ฉิมะวงษ์ ได้เชิญประชุมใหญ่ครั้งแรก ณ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ณ บ้านศาลาแดง ในวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นการประชุมสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยครั้งแรก ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 23 คน
ปี พ.ศ. 2531 สมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศ ดำเนินการเปลี่ยนสถานะเป็น “วิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย” ได้รับการรับรองฐานะจากแพทยสภา ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2533
หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ปรึกษาวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ของพระราชทานพระมหากรุณาให้วิทยาลัยสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย” และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ชื่อและเครื่องหมายของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย มีชื่อย่อว่า รววท. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า The Royal College of Anesthesiologists of Thailand มีชื่อย่อว่า RCAT
คำอธิบายตราเครื่องหมายราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
เป็นตราสัญลักษณ์เดี่ยวสัณฐานรูปทรงโดยรวมมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ประกอบด้วย ดอกบัวหลวง 12 กลีบสีทอง บานล้อมรอบวงล้อกลม ใจกลางเกสรเป็นรูปสัญลักษณ์งูสองตัวพันคบเพลิงสีทอง ครึ่งบนเป็นแถบ สี 5 แถบ เรียงลำดับสีแดง ขาว น้ำ เงิน ของธงไตรรงค์และครึ่งล่างแทนที่ ด้วยอักษรภาษาไทยสีน้ำเงินว่า “ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย” เหนือต่อตัวอักษรย่อนี้ปรากฏเป็นเลขไทยสีแดง “๒๕๑๓” โค้งไปตามขอบวงล้อด้านใน ด้านบนของดอกบัวประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมรัศมีสีทอง 17 แฉก ประดิษฐานสถานครอบตราอุณาโลมสีทองส่วนด้านล่างของดอกบัว ประกอบ ด้วยแถบแพรสีน้ำ เงินขาบ ขอบทอง ห้อยชายทั้ง 2 ข้าง จารึกอักษรภาษาอังกฤษสีทอง ว่า “The Royal College of Anesthesiologists of Thailand” โค้งไปตามแถบแพร
พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมรัศมี หมายถึง การที่ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รับราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยไว้ ในพระบรมราชูปถัมภ์และดำ เนินกิจการอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยไม่หวังผลตอบแทน
กลีบบัว 12 กลีบ หุ้มรอบวงล้อ และตราสัญลักษณ์การแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง บุคคลผู้มีศักดิ์และสิทธิ์คู่ควรกับการใช้ตราสัญลักษณ์นี้ควรเป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในธรรม มีการพัฒนาความรู้ความ สามารถและความเชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยเฉพาะวิชาการด้านวิสัญญีวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่าง ต่อเนื่อง พร้อมกับมีการพัฒนาทางด้านจิตใจมีความเสียสละมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีความเห็นอกเห็นใจ ต่อเพื่อนมนุษย์โดยคำ นึงถึงประโยชน์ส่วนตนเป็นรอง เปรียบได้กับวงล้อธรรมะที่หมุนไปข้างหน้าตลอดเวลา
เลขไทย “๒๕๑๓” หมายถึง ปีแรกแห่งการก่อตั้งสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิสัญญีวิทยา
ตราอุณาโลม หมายถึง เครื่องหมายอันเป็นมงคลซึ่งแสดงถึงปัญญาที่เป็นพลวปัจจัยของวิสัญญีแพทย์ ในการปฏิบัติงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อมนุษยชาติ
ธงไตรรงค์ หมายถึง ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนประเทศไทย ในงานด้านวิสัญญีวิทยา
แถบแพรสีน้ำเงินขาบ หมายถึง สีของก๊าซไนตรัสออกไซด์ซึ่งนับเป็นยาดมสลบที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวเนื่องมากับงานด้านวิสัญญีวิทยา